แนะนำหนังสือใหม่ กลุ่มสังคมศาสตร์

ความหมายและการเปลี่ยนแปลง /
ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ, สิริพร สมบูรณ์บูรณะ, พิเชฐ สายสัมพันธ

หนังสือพิธีสวดภาณยักษ์: ความหมายและการเปลี่ยนแปลง หนังสือที่เขียนขึ้นจากการศึกษาพิธีสวดภาณยักษ์ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ทาง
พระพุทธศาสนาที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงทงสังคมและวัฒนธรรมในช่วงทศวรรษ 2540 เป็นช่วงเวลาที่คนไทยส่วนหนึ่งเห็นว่าพิธีสวดภาณยักษจะเป็นพิธีหนึ่งที่สะเดาะเคราะห์ ลดทุกข์ หากพิจารณาในบริบทของสังคมและวัฒนธรรมของสังคมไทยในช่วงเวลานั้น เป็นช่วงที่สังคมไทยเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทย
เลขหมู่ BQ5060.T5 ฉ173พ 2562

เปิดกรุเอกสารจีนโบราณ : ตีแผ่ระบบปกครองชนชายขอบและเจ้าท้องถิ่นชาวไตของแผ่นดินจีน /ยรรยง จิระนคร (เจียแยนจอง)

ว่าด้วยพัฒนาการของระบนเจ้าถิ่นสินทายาทที่ปกครองชนถล่มน้อยชายแดนภาคใต้ทัศนะรับรู้ของราชสำนักจีนเรียงลำดันเนื้อความจากเอกสารจีนตามยุคสมัยตั้งแต่ครั้งราชวงศ์ฉิน-ฮั่นลงมาจนถึงสมัยราชวงศ์ชิงและยุคสาธารณรัฐ เริ่มจากระบบ “จิ๊หมี” ครั้งโบราณ พัฒนามาจนเป็นระบบ “ถูซือ” เต็มรูปแบบในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง ภายใต้ความพยายามปลูกฝังวัฒนธรรมและขนบประเพณีแบบจีนในพวกชนกลุ่มน้อยผ่านกลไกทางการปกครองและการศึกษาภาคที่สองว่าด้วยประวัติเจ้าถิ่นสืนทายาทคิดเลือกเฉพาะสำหรับหัวเมืองที่มีเจ้าถิ่นคนไตปกครองในภาคตะวันตกของมณ์ฑลหยุนหนานและบริวณใกล้เคียง รวมหลายสีบหัวเมืองเนื้อหาในภาคที่สองนี้ซึ่งอ้างอิงจากเอกสารจีนโนราณเป็นหลักจะว่าด้วยเรื่องประวัติการเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อราชสำนักจีนของเจ้าถิ่นในหัวเมืองชายแดนเหล่านั้น
เลขหมู่ DS793.Y8 ย143ป 2563

นครวัดทัศนะสยาม / ศานติ ภักดีคำ

ใครว่า “นครวัด” เพิ่งถูกค้นพบโดยอองรี บูโอต์! เพราะที่จริงแล้ว นครวัดไม่เคยหายไปจากความทรงจำของชาวกับพูชาแม้ว่าเมืองจะถูกทิ้งร้างไป แต่เรื่องราวเกี่ยวกับนครวัดยังคงวนเวียนผ่านเรื่องเล่า ตำนาน และพงศาวดารและแน่นอนว่า นครวัดก็มิได้หายไปจากความทรงจำของชาวสยามเช่นกันหนังสือเล่มนี้จะพาเราย้อนกลับไปตามหาร่องรอยความทรงจำของชาวสยามที่มีต่อนครวัด นับตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจวบจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ ผ่านเอกสารโบราณหลักฐานทางโบราณคดี เพื่อหาคำตอบของคำถามว่า”หากนครวัดไม่ได้เพิ่งถูกค้นพบแล้วชาวสยามรู้จักนครวัดได้อย่างไร”
เลขหมู่ DS554.98.A5 ศ343น 2563

When We Vote : พลวัตการเลือกตั้งและประชาธิปไตยในอาเซียน / ประจักษ์ ก้องกีรติ

ปราศจากการเรียนรู้จากสังคมอื่น ก็ยากที่เราจะเข้าใจประเทศของตนเองอย่างถ่องแท้ และหากปราศจากการย้อนกลับไปมองที่มาที่ไปในอดีต ก็ยากที่เราจะเข้าใจสภาพปัญหาทางการเมืองในปัจจุบัน”ร่วมวงสนทนาบนเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ตามเข้าไปสำรวจความเป็นจริงในพื้นที่ ฟังข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ ยื่นหน้าไปดูตัวเลขสถิติและกลับเข้าสู่การถกเถียงถึงโอกาส ความหวัง ความฝัน และความจริงจากการศึกษาเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการเลือกตั้งในมาเลเซียอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ สามประเทศที่น่าจับตามองที่สุดในอุษาคเนย์ ย้อนกลับมาเปรียบเทียบและทบวนสถานการณ์การเมืองการเลือกตั้งของไทย-ประเทศซึ่งตั้งไข่และล้มลุกคลุกคลานมากว่า 88 ปี ในการสร้างกระบวนการเลือกตั้งที่มีคุณภาพและประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
เลขหมู่ JQ750.A95 ป222 2563

ความหมายและการเปลี่ยนแปลง /
ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ, สิริพร สมบูรณ์บูรณะ, พิเชฐ สายสัมพันธ

เมื่อการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์ไทยมาถึงทางแยกเช่นนี้เราจะอธิบายอิทธิพลของสถาบันที่มีต่อสังคมไทยแทบทุกแง่มุมตามความเป็นจริงได้อย่างไร คำอธิบายเรื่องเผด็จการทหารที่มีสหรัฐอเมริกาหนุนหลังและคอยอาศัยบารมีของพระมหากษัตริย์นั้นตอบคำถามได้เพียงบางส่วน การจะเข้าใจให้รอบด้านมากขึ้นเราต้องสำรวจลึกถึงรากความคิดว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ของไทย ให้เห็นความหมายที่แท้จริงของคำว่า “สถาบันกษัตริย์”ในบริบทศาสนาและวัฒนธรรมหนังสือเล่มนี้ว่าด้วยทฤษฎีสถาบันกษัตริย์ของไทย และชาดกอันเป็นประเภทวรรณกรรมศาสนาที่กล่าวได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้ทฤษฎีนี้แพร่หลายมากว่า 700 ปี หนังสือเล่มนี้จะเน้นซาดกเรื่องที่นิยมกันมากที่สุดคือ เวสสันดรซาดก ซึ่งอาจเป็นซาดกที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในพุทธศาสนาเถรวาหของไทย เป็นเวลานับศตวรรษที่พระเวสสันดรได้สร้างกระบวนทัศน์อันเป็นแบบฉบับของผู้นำในอุดมคติไว้ในวัฒนธรรมการเมืองไทย ทั้งสำหรับพระมหากษัตริย์และเจ้านายทั้งหลาย ตลอดจนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน เหตุใดชาดกเรื่องนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยมายาวนาน และทำไมจึงเรื่มหมดความนิยมไปจากราชสำนักในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ต้นพุทธศตวรรษที่ 25)
เลขหมู่ JC375 จ861ท 2563