การเป็นบรรณารักษ์นั้น ต้องมีความเข้าใจงานบรรณารักษ์ คือ จัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ มาให้บริการแก่ผู้ใช้ในห้องสมุด เมื่อได้ทรัพยากรมาแล้ว ต้องวิเคราะห์และลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อกำหนดหมวดหมู่ คำค้น หัวเรื่อง รวมไปถึงการบันทึกข้อมูลบรรณานุกรมเหล่านี้ลงในฐานข้อมูลของห้องสมุด เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้ เขาถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
เตรียมตัวศึกษาขัอมูลอะไรบ้าง?? สำหรับบรรณารักษ์มือใหม่“ที่ไม่จบสายตรง”
- ศึกษาเกี่ยวการวิเคราะห์หมวดหมู่
เพื่อจัดหมู่ของเนื้อหาในหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่มีเนื้อหาเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการค้นหาและการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
1.หมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification)
2.หมวดหมู่หนังสือระบบรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)
3.หมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ (National Library of Medicine Classification)
4.หมวดหมู่ระบบเลขหมู่ที่หน่วยงานกำหนด
ศึกษาเกี่ยวกับการลงรายการบรรณานุกรมตามหลักการลงรายการของ AACR2 และ MARC 21
เป็นการลงรายละเอียดข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ เพื่ออธิบายลักษณะทรัพยากรสารสนเทศ และวิเคราะห์สารสนเทศ เพื่อกำหนดการลงรายการและกำหนดคำเพื่อใช้เป็นตัวแทนของเนื้อหาเพื่ิอเพิ่มช่องทางการเข้าถึงรายการทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ สามารถทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงสารสรเทศได้อย่างถูกต้อง ตรงตามความต้องการและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเขตข้อมูลที่จำเป็นในการลงรายการ
020 คือเขตข้อมูล เลขมาตรฐานหนังสือสากล (International Standard Book Number – ISBN)
050 คือเขตข้อมูล LC Call Number สำหรับระบุเลขเรียกหนังสือระบบรัฐสภาอเมริกัน
082 คือเขตข้อมูล DC Call Number สำหรับระบุเลขเรียกหนังสือระบบทศนิยมดิวอี้
060 คือเขตข้อมูล NLM Call Number สำหรับระบุเลขเรียกหนังสือทางการแพทย์
099 คือเขตข้อมูลเลขหมู่กำหนดเอง
100 คือเขตข้อมูล รายการชื่อเรื่อง
245 คือ เขตข้อมูล ชื่อเรื่อง
260 คือ เขตข้อมูล พิมพลักษณ์ หรือ ข้อมูลการพิมพ์
300 คือ เขตข้อมูล บรรณาลักษณ์ หรือ ลักษณะทางกายภาพของหนังสือ
- ศึกษาเกี่ยวระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KMUTT-LM
1. ระบบจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (Acquisition)
2.ระบบจัดการและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ (Catalog)
3.ระบบงานวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials)
4.ระบบยืม-คืน หนังสือ งานบริการทรัพยากรสารสนเทศ (Circulation)
5.การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ (OPAC : Online Public Access Catalog)