หลักการเขียนโครงการแบบง่ายๆ
- ทำอะไร? ทำไมต้องทำ? ทำแล้วได้อะไร? ทำอย่างไร? ใช้งบประมาณเท่าไหร่?
- การวัดผลการดำเนินโครง/กิจกรรมอย่างไร? (การติดตามความก้าวหน้าโครงการ/กิจกรรม)
เทคนิคการเขียนชื่อโครงการ
- ใช้คำให้ดูที่กิจกรรมหลักว่าเราต้องการจะทำอะไร
- กิจกรรมในโครงการสามารถมีมากกว่าหนึ่งกิจรรม โดยใช้คำเหล่านี้ ได้แก่ พัฒนา ส่งเสริม เสริมสร้าง สร้างเสริม สนับสนุน เป็นต้น
- เขียนให้ชัดเจน ทำอะไร ทำให้ใคร เช่น ด้านการพัฒนาส่วนใหญ่ของสำนักหอสมุด “การพัฒนาระบบ ฐานข้อมูล ฯลฯ” ด้านการบริการส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น อาจารย์ บุคลากร นิสิต นักเรียน หรือประชาชนทั่วไป เป็นต้น
- เขียนให้สอดคล้องกับ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) เป้าหมาย และ 4) กิจกรรม
เทคนิคการเขียนหลักการและเหตุผล
- ความเป็นมาของโครงการ ระบุจาก 1) นโยบาย แผน มติคณะกรรมการจากการประชุม 2) กฎหมาย 3) สถานการณ์ เหตุการณ์
- สภาพปัญหา และความต้องการของโครงการ (แก้ไข ป้องกัน พัฒนา) 1) ปัญหาคืออะไร เกิดกับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ 2) สาเหตุมาจากอะไร มา กน้อยเเค่ไหน 3) ความจำเป็น เร่งด่วน ต้องทำอะไร เมื่อทำแล้วสามารถแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานได้อย่างไร ถ้าไม่ทำจะเกิดผลอย่างไร?
ตัวอย่างการเขียนหลักการและเหตุผล
- เนื่องด้วย ตามที่ ปัจจุบัน เป็นการระบุที่มาของโครงการ หรือจากการสำรวจ ศึกษา … ปัจจุบัน ….. เป็นการระบุสภาพปัญหาโครงการ
- เพื่อให้เกิด เพื่อให้พัฒนา … เพื่อเป็นประโยชน์ โดยระบุความจำเป็น 1) กิจกรรมหลักต้องทำอะไร 2) วัตถุประสงค์เพื่อใคร อย่างไร 3) โครงการที่เขียนนั้นส่งผลกระทบ หรือส่งผลต่อส่วนรวมอย่างไร
ปัญหาที่พบในการเขียนหลักการและเหตุผล
- มีเนื้อหาจากโครงการเดิม หรือโครงการที่คล้ายคลึงกับโครงการอื่นกันมากจนเกินไป ไม่มีความแตกต่าง ของโครงการกิจกรรม
- ไม่ตรงประเด็น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับโครงการ
- ไม่มีความสัมพันธ์ในเนื้อหา ของที่มา สภาพปัญหา และความจำเป็นของโครงการ
- ไม่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรมในโครงการ
- ไม่กระชับมีเนื้อหายาวเกินไป และนอกจากนี้ยังมีการไม่เรียงลำดับ มีการเขียนเนื้อหาที่วกวนไปมา
- ไม่มีเนื้อหาสาระสำคัญ คือเขียนสั้นเกินไป ทำให้ไม่ทราบที่มาที่ไปของโครงการ
หลักการเขียนวัตถุประสงค์โครงการ >>> ทำเพื่อใครและจะได้ประโยชน์อะไร<<<
- ทำกิจกรรมหลักเสร็จแล้ว ใครได้รับประโยชน์อย่างไร ควรขึ้นต้นข้อความวัตถุประสงค์ด้วยคำว่า “เพื่อ”
- ควรเขียนให้สอดคล้องกับ สภาพปัญหาในหลักการและเหตุผลให้ครบทุกประเด็น และเป้าหมายของโครงการให้ครบทุกประเด็น
“ทั้งนี้ท้ายที่สุดของการเขียนโครงการ/กิจกรรมนั้น ๆ เมื่อเสนอโครงการ หรือจัดทำโครงการ/กิจกรรม แล้ว ก็ควรดำเนินการตามแผน หรือเป้าหมาย ตัวชี้วัด ที่ได้วางแผนไว้ในโครงการ หากไม่ทำตามโครงการ/กิจกรรมนั้นก็ไม่ก่อประโยชน์อะไรให้กับการพัฒนาตนเอง หรือการพัฒนางาน”