บทความนี้ เขียนไว้เป็นตัวช่วยสำหรับคนที่ต้องสรุปรายงานสถิติ หรือรายงานประเมินความพึงพอใจ แต่เบื่อกับโปรแกรม SPSS ของมหาวิทยาลัย ที่ลงแล้วใช้งานได้แค่แบบ Trial    อาจใช้โปรแกรม Excel ช่วยคำนวณเล็กๆน้อยๆได้ 

 

 

 

 

อ้างอิงมาจากเว็บบล็อกของ ดร. รุจเรขา ลิงก์ตินฉบับอยู่ที่นี่นะคะ https://ruchareka.wordpress.com/2013/06/03/การใช้โปรแกรม-excel-ในงานวิจ/

  • โปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะหฺสถิติการวิจัย มีมากมายหลายตัว โปรแกรม SPSS นิยมใช้กันมาก แต่ถ้านำไปวิเคราะห์สถิติแล้วนำผลงานไปตีพิมพ์ จำเป็นต้องใช้ซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์ ปัจจุบันมีโปรแกรม opensource ตัวหนึ่งที่คล้ายๆกัน และตั้งชื่อเลียนแบบ SPSS โปรแกรมนั้นมีชื่อว่า PSPP อย่างไรก็ตาม หากจะวิเคราะห์สถิติแบบเบื้องต้น ใช้โปรแกรม Microsoft Excel ทำก็ได้ สะดวกดี
  • อันดับแรก ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรต่างๆก่อน ในแง่มาตรวัด ได้แก่ ตัวแปรเชิงปริมาณ (ตัวแปรต่อเนื่อง ไม่ต่อเนื่อง / ตัวแปรช่วงหรืออันตรภาคชั้น interval scale ตัวแปรอัตราส่วน – ratio scale) ตัวแปรเชิงคุณภาพ (ตัวแปรนามบัญญัติ nominal scale และตัวแปรเรียงลำดับ ordinal scale) — และในแง่บทบาทของตัวแปรเหล่านั้น ว่า เป็นตัวแปรอิสระ (ตัวแปรที่เป็นเหตุ) หรือตัวแปรตาม (ตัวแปรที่เป็นผล) ถ้าไม่เข้าใจว่าข้อมูลที่เราไปเก็บมา เป็นตัวแปรชนิดไหน ก็จะวิเคราะห์ผิดพลาดได้
  • เมื่อตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลที่ได้มาแล้ว ให้กำหนดรหัสให้แก่ตัวแปร กำหนดชื่อตัวแปร กำหนด format ของตัวแปรว่าเป็น numeric หรือเป็น text/character หรือเป็น date แล้วแต่ประเภทและมาตรวัดของตัวแปรนั้นๆ
  • เปิดโปรแกรม Excel แล้วสร้าง template บน worksheet ของ Excel สำหรับกรอกข้อมูล จากนั้นทำการป้อนข้อมูลลงใน template (ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่เก็บได้จากแบบสอบถาม)
  • อันดับต่อไป ต้องเลือกใช้ฟังก์ชั่นสถิติให้เหมาะสมกับการประมวผลตัวแปร
  • ตัวแปรเชิงคุณภาพ ใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ และใช้ไคว์สแควร์เพื่อทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปร / ตัวแปรเชิงปริมาณ ใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน ค่าความถี่ และใช้ Z-test, t-test, F-test ในการทดสอบสมมุติฐานเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ค่าสัดส่วน — สำคัญมาก เพราะหากเลือกใช้ฟังก์ชั่นผิด จะทำให้ผลลัพธ์ผิดไปด้วย
  • เราสามารถนำโปรแกรม Excel มาใช้คำนวณค่าสถิติแบบเบื้องต้น ที่ใช้กันทั่วไป เช่น การหาค่าความถี่และค่าร้อยละของตารางจำแนก 2 ทาง ตารางจำแนกหลายทาง (cross table) หรือการหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่เป็นสเกลแบบระดับ (rating scale) เช่น ระดับความพึงพอใจ เป็นต้น
  • หาค่าความถี่ของข้อมูลที่เป็น text ใช้คำสั่ง COUNTA
  • หาค่าความถี่ของข้อมูลที่เป็น numeric ใช้คำสั่ง COUNT
  • หาค่าความถี่แบบมีเงื่อนไขเดียว ใช้คำสั่ง COUNTIF()
  • หาค่าความถี่แบบมีหลายเงื่อนไข ใช้คำสั่ง COUNTIFS()
  • เลือกแถบเมนูของโปรแกรม Excel ที่ AutoSUM -> More Functions -> COUNTA หรือเลือกที่ Formulas -> More Functions -> Statistical -> COUNTA
  • โปรแกรม Excelไม่มีฟังก์ชั่นคำนวณค่าร้อยละ ค่าสัดส่วน ค่าอัตราส่วน ต้องพิมพ์สูตรคำนวณลงไปใน formula bar เอง เช่น =(J5*100)/J7
  • หาค่าเฉลี่ย ใช้คำสั่ง AutoSUM -> AVAERAGE หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้คำสั่ง AutoSUM -> STDEV
  • การทดสอบสมมุติฐานค่าเฉลี่ย กรณีประชากรกลุ่มเดียว ใช้สถิติ t-test ในกรณีที่ไม่ทราบค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของประชากร (ใช้ S.D. ของกลุ่มตัวอย่างแทน) และจำนวนกลุ่มตัวอย่างมีค่าน้อยกว่า 30 / ใช้สถิติ Z-test ในกรณีที่ทราบค่า S.D. ของประชากร และจำนวนกลุ่มตัวอย่างมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 30
  • หาค่า P-value ของ Z-test ใช้คำสั่ง AutoSUM -> More Functions -> ZTEST
  • ตั้งสมมุติฐานว่าง H0 ให้น้อยกว่าหรือเท่ากับ ส่วนสมมุติฐาน H1 ให้มากกว่า ถ้าค่า p-value มีค่ามากกว่าแอลฟ่า 0.05 (หรือ 0.01) แสดงว่ายอมรับสมมุติฐานว่าง
  • การทดสอบสมมุติฐานค่าเฉลี่ย กรณีประชากรสองกลุ่ม / ตั้งสมมุติฐานว่าง H0 ให้เท่ากับ ส่วนสมมุติฐาน H1 ไม่เท่ากับ ถ้าค่า p-value มีค่ามากกว่าแอลฟ่า 0.05 (หรือ 0.01) แสดงว่ายอมรับสมมุติฐานว่าง
  • การทดสอบสมมุติฐาน ความเป็นอิสระระหว่างตัวแปร หรือทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงคุณภาพ —> ให้ใช้ค่าความถี่และ สถิติไคว์สแควร์
  • ใช้คำสั่ง AutoSUM -> More Functions -> CHITEST
  • ตั้งสมมุติฐานว่าง H0 ให้เท่ากับ ส่วนสมมุติฐาน H1 ไม่เท่ากับ ถ้าค่า Chi Square ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าแอลฟ่า 0.05 (หรือ 0.01) แสดงว่ายอมรับสมมุติฐานว่าง คือ ไม่มีความสัมพันธ์กัน
  • การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป ใช้ F-Test
  • กรณีกลุุ่มตัวอย่างไม่เท่ากัน ต้องคำนวณความแปรปรวนภายในกลุ่ม (Within-Group) และความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (Between-Group) ใช้คำสั่ง Data –> Analysis –> ANOVA: Single factor ถ้าค่า p-value ที่คำนวณได้ มากกว่า 0.05 แสดงว่ายอมรับสมมุติฐาน H0 คือทุกกลุ่มมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน
  • กรณีกลุุ่มตัวอย่างเท่ากัน และเก็บข้อมูลมาค่าเดียว หรือเก็บข้อมูลไม่ซ้ำ ใช้คำสั่ง Data -> Analysis -> Two-ways ANOVA without replication
  • กรณีกลุุ่มตัวอย่างเท่ากัน และเก็บข้อมูลซ้ำๆหลายครั้ง ทุกกลุ่มอย่างละเท่าๆกัน ใช้คำสั่ง Data -> Analysis -> Two-ways ANOVA with replication
  • การพล็อตกราฟหาสมการถดถอย หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (ค่า x) และตัวแปรตาม (ค่า y) ใช้คำสั่ง Insert -> Scatter และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) ใช้คำสั่ง Data -> Analysis -> Regression ถ้าค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเป็นบวก แสดงว่า เมื่อตัวแปรอิสระเพิ่ม ตัวแปรตามจะเพิ่ม ถ้าค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเป็นลบ แสดงว่า เมื่อตัวแปรอิสระเพิ่ม ตัวแปรตามจะลด

ลิงก์เรียนรู้เรื่องที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมนะคะ  สูตรคำนวณ Formula & Function