“4 hearts for library : ใส่ใจ ได้ใจ เข้าใจ และรักษาใจ เพื่อพัฒนากระบวนทัศน์งานห้องสมุด”

 

จากการประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๖๕  ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ   วันจันทร์ที่  ๑๙ ธันวาคม  ๒๕๖๕   ณ ห้องประชุมชั้น ๗ สำนักงานวิทยทรัพยากร  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผ่าน Zoom Meetings 

คัดมาเฉพาะหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจนะคะ เอกสารประกอบการบรรยายสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ 

การบรรยายหัวข้อแรก น่าสนใจมาก เหมาะสำหรับหน่วยงานให้บริการ อย่างเช่นห้องสมุด วิทยากรคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์ 

สาระคร่าวๆ นะคะ 

การสื่อสารบริการมืออาชีพ สิ่งสำคัญ คือ  empathetic service การให้บริการด้วยความเข้าใจ แบบไม่มีหน้าไม่มีหลัง โดยพื้นฐาน คือ การใช้บริการด้วยการส่งต่อความรู้สึกถึงความเป็นเพื่อน การให้เกียรติซึ่งกันและกัน และปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา

ต้องเข้าใจว่าการสื่อสาร คือ ศิลปะ ที่แต่ละคนต้องใช้ในการสื่อสารที่เกิดขึ้นตรงหน้า ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ  

  1. การสื่อสารในภาวะปกติใหม่ ต้องมีความยืดหยุ่น เชื่อถือได้ และชัดเจน เราต้องใส่ใจกับการสื่อสารที่แตกต่างกันของแต่ละวัย ในแต่ละเจน โดยส่วนใหญ่ เรามักสื่อสารกับ 3 ช่วงวัย คือ คนที่มีอาวุโสกว่า คนในรุ่นราวคราวเดียวกัน และคนที่มีอายุน้อยกว่า
  2. ทำความรู้จักลักษณะของผู้ใช้ในกลุ่มต่าง ๆ และการรับมือในแต่ละกลุ่ม โดยแบ่งออกตามสี
  • สีแดง -คิดเร็ว ทำเร็ว ตรง ตีประเด็น
  • สีเหลือง – ชอบนอกประเด็น ไม่ชอบกติกา พูดคล่อง มีอิสระ
  • สีเขียว – ชอบรายละเอียด ถนอมน้ำใจ แคร์ความรู้สึก  รับมือ – ด้วยการแสดงถึงการแคร์ความรู้สึก และใส่ใจอารมณ์ความรู้สึก
  • สีฟ้า – เป็นกลุ่มที่ต้องการหลักฐานและมีลายลักษณ์อักษรเท่านั้น รับมือ-สร้างระบบคำร้อง แม่นในกฎระเบียบ

อจ บอกว่า “ควรพึงเป็นคนทุกสี เพื่อมาปรับใช้ในทุกสถานการณ์”

  1. การเป็น Active Listening ทำงานความรู้สึกให้มาก เพื่อให้รู้ความต้องการของผู้ใช้บริการ  

“ ห้องสมุดนอกจากจะ hightech แล้วต้อง high turst มากขึ้นด้วย”  ห้องสมุด คือพื้นที่ที่ปลอดภัย ถึงแม้นิเวศน์ห้องสมุดจะเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน การได้มีประสบการณ์การใช้ห้องสมุด ได้เรียนรู้ได้สัมผัสกับการบริการต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่ที่พร้อมให้บริการ ยังเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ

“… เพราะบางครั้งการสัมผัสเทคโนโลยีมากๆ ก็ยังต้องการสัมผัสความเป็นมนุษย์ ทุกคนยังต้องการการสัมผัส การส่งต่อความรู้สึกระหว่างกัน”  ข้อความทิ้งท้าย จากวิทยากรค่ะ 

สำหรับท่านที่สนใจเนื้อหาและสาระเพิ่มเติมจากอาจารย์  สามารถกดแอดเพิ่มเพื่อนไปที่เฟสบุคอจ ได้ที่นี่นะคะ https://www.facebook.com/TeamBuildingActivity8 

แถมด้วยตอนต้นการประชุม พิธีเปิดและกล่าวเปิดจากผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร อจ อมร เพชรสม และพี่ปอง สมปอง มิสึตะ จากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากรค่ะ 

 * คุณภาพไฟล์อาจจะไม่ดีหน่อย เนื่องจากแปลงออกมาจากเฟสบุค ที่แอบบันทึกไว้ เพราะทางชมรมฯ ไม่อนุญาตให้บันทึกคลิป เป็นลิขสิทธิ์ของชมรมฯและสมาคม เราดูกันเฉพาะภายในห้องสมุดนะคะ 

ภาพประกอบการประชุมชบอ 65 ภาพประกอบการประชุมชบอ 65