จากการอบรม หัวข้อ “อบรมออนไลน์ผ่าน Zoom Webinar เรื่อง “Reference Data Management for Research Essential Mendeley” วันที่ 26 ตุลาคม 13:00-15.00 น.
บรรยายโดย ดร. เกวลิน ธนสารสมบัติ สำนักพิมพ์ Elsevier
สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้จากเว็บไซต์ https://www.mendeley.com/downloads
Author: admin
แนะนำบทความสำหรับการเขียนอ้างอิง
Changes in APA 7th Edition’s Citation Style
การเปลี่ยนแปลงการอ้างอิงเอกสาร ตามรูปแบบของ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7
เนื้อหาบทความเขียนอธิบายเปรียบเทียบ การลงรายการอ้างอิงตามรูปแบบ APA ครั้งที่ 6 เปรียบเทียบกับครั้งที่ 7 ว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง พร้อมตัวอย่าง เป็นประโยชน์สำหรับการเขียนบรรณานุกรมและการอ้างอิงในเอกสารรายงาน บทความ หรืองานวิจัย
บทความนี้เผยแพร่ในวารสารสารสนเทศศาสตร์ (Journal of Information Science) ปีที่ 39 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มีนาคม 2564
สามารถสืบค้นและดาวน์โหลดได้ผ่านเว็บไซต์ Thai Journals Online (ThaiJO)
หรือดาวน์โหลดบทความที่ลิงก์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/246704/168397
ดูบทความอื่นในเล่ม Vol. 39 No. 1 (2021): January – March
การปรับแก้ Style การอ้างอิงด้วยตนเองบน EndNote 20
วิธีการปรับแก้ Style การอ้างอิงบน EndNote 20
เนื่องจากโปรแกรม Endnote พัฒนาโดยชาวต่างชาติซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ดังนั้นการอ้างอิงสำหรับเอกสารที่เขียนเป็นภาษาไทย อาจไม่สมบูรณ์ 100 % จำเป็นต้องมีการปรับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตนเอง
วิธีการสามารถทำได้ดังนี้ (อยู่ในเอกสารหน้า 21-23 คู่มือการใช้งานภาษาไทย)
- ไปที่ Tools -Output Styles แล้วเลือกรูปแบบการอ้างอิงที่เปิดไว้มาแก้ไข
2. เข้าไปแก้ไขรูปแบบ เช่น การเรียงชื่อ นามสกุล ทั้งอ้างอิงในเนื้อหา (Citation) และอ้างอิงท้ายเนื้อหา (Bibliography) และลักษณะตัวพิมพ์ เช่น พิมพ์หนา พิมพ์เอียง ขีดเส้นใต้ และอื่นๆ
3. หลังจาก save ชื่อ style แล้ว สามารถลองแสดงผลดูรูปแบบได้ที่หน้าจอโปรแกรม
4. กรณีไม่ต้องการแก้ไขรูปแบบเอง สามารถดาวน์โหลดรูปแบบการอ้างอิงสำเร็จรูปมาจากแหล่งอื่น แล้วนำมาจัดเก็บเพิ่มเติมในโปรแกรมได้ โดยนำมาวางไว้ที C:\Programe File (X86)\Endnote 20\Styles
** หรืออาจศึกษารูปแบบการอ้างอิง จากที่อื่นๆ เช่น รูปแบบอ้างอิงของวารสารทั้งในและต่างประเทศ หรือรูปแบบการอ้างอิงที่นิยมใช้ในแต่ละสาขา เช่น APA 6th APA 7th Vancouver Style จากลิงก์นี้
รวมแหล่งนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติและนานาชาติ : Online and Onsite Conference 2021
แหล่งที่มา : https://conferencealerts.com/
แหล่งอื่นๆ เพิ่มเติม
https://conferencealert.com/thailand.php
แนะนำคู่มือการใช้โปรแกรม EndNote 20 สำหรับเรียนรู้ด้วยตนเอง
แนะนำคู่มือการใช้งานโปรแกรม EndNote 20 สำหรับเรียนรู้ด้วยตนเอง โดย รศ ดร ภญ รัตติมา จีนาพงษา
หรือดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้โดยตรงผ่าน ลิงก์
วารสารที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อในฐาน Journal Citation Reports
ฐานข้อมูล Journal Citation Reports เป็นฐานข้อมูลรวบรวมค่า Journal Impact Factor ของวารสาร ที่ปรากฎในฐาน Web of science ปัจจุบันข้อมูลล่าสุดอยู่ที่ปี 2019 (@Copyright 2020 by Clarivate Analytic)
กรณีวารสารบางชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อ ข้อมูลการอ้างอิง หรือ Citation ที่ปรากฎจากการแสดงผลของฐานข้อมูล อาจไม่ตรงกับความจริง เนื่องจาก
- บริษัทเดิมที่จัดทำฐานข้อมูล Web of science และ Journal Citation Reports ถูกเปลี่ยนมาเป็นบริษัท Clarivate Analytic วารสารบางชื่อ ในชื่อเดิมจะไม่ได้รับการประเมินคุณภาพจาก Clarivate Analytic และยังไม่ถูกทำ index เข้า Web of science อัตโนมัติ
- วารสารที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อในปีแรก จะไม่ปรากฎค่า Journal Impact Factor เนื่องจากการรวบรวมปริมาณการอ้างอิงนับย้อนหลัง 2 ปี ในปีที่ 2 หลังจากวารสารถูกเปลี่ยนชื่อ JCR จะแยกค่า Impact Factor ให้เฉพาะของวารสารในชื่อใหม่
ดังนั้น วารสารชื่อที่มีการเปลี่ยนแปลง จำนวนสถิติการอ้างอิงอาจต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะไม่ได้นับรวมจากบทความในวารสารชื่อเดิม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Journal Citation Reports: Journal Title Changes (clarivate.com)
หมายเหตุ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้บริการฐานข้อมูล Web of Science ที่สามารถค้นชื่อวารสาร พร้อมค่า Quartile ของวารสาร แต่สำหรับค่า Impact Factor สามารถขอใช้บริการ Journal Impact Factor ของสำนักหอสมุดได้ค่ะ ห้องสมุดจะให้บริการข้อมูลของค่า Impact Factor และค่า Quartile จากทั้งฐานข้อมูล Web of Science และ SCOPUS
World’s Top 2% Scientists by Stanford University
นักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ติดอันดับ Highest Citations ในสาขาวิชาชั้นนำอันดับโลก
จาก Science-wide author databases of standardized citation indicators
ผู้ได้รับการจัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับที่ได้มาตรฐานโดยมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ที่ประกอบด้วยข้อมูลจำนวนการอ้างอิง ค่า h-index จากฐานข้อมูลที่รวบรวมผลงานของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 100,000 คน แยกเป็นข้อมูล ตลอดชีพของนักวิจัย (career-long) และข้อมูล 1 ปี (single year) นักวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 22 สาขาและ 176 สาขาย่อย
อ้างอิงจาก Baas, Jeroen; Boyack, Kevin; Ioannidis, John P.A. (2020), “Data for “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators””, Mendeley Data, V2, doi: 10.17632/btchxktzyw.2
เทคนิคการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ
โดย ผศ ดร. ไสว บัวแก้ว วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
** เอกสารและคลิปประกอบการบรรยาย จาก โครงการอบรมเรื่อง กลเม็ดเคล็ด (ไม่) ลับ กับการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวาสารนานาชาติ วันที่ 14 กรกฎาคม 2563 จัดโดย วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (ดาวน์โหลดไฟล์ pdf ที่นี่)
คู่มือการสืบค้นวารสารสำหรับตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติ
สำนักหอสมุด มีบริการเครื่องมือสำหรับอาจารย์ นิสิตบัณฑิตศึกษาและนักวิจัย ในการช่วยค้นหาแหล่งเผยแพร่ผลงานบทความ ซึ่งสามารถค้นได้ด้วยตนเอง แต่สงวนใช้งานเฉพาะภายในมหาวิทยาลัย หรือ เข้าใช้ผ่าน sslvpn ก่อนเข้าถึง โดยเข้าถึงผ่านลิงก์ http://www.lib.nu.ac.th/m/journalif/
สามารถดูขั้นตอนวิธีการใช้งานจาก ebook ด้านล่าง หรือดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์ คลิก
การค้นหาแหล่งเผยแพร่บทความจาก Journal Finder
Journal Finder เป็นบริการช่วยค้นหาวารสารที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เขียน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริการ Scival ของสำนักพิมพ์ Elsevier
สามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ https://journalfinder.elsevier.com/ หรือบริการ Find journals ของ Elsevier
ขั้นตอนการใช้งานมีดังนี้
- เข้าถึงหน้า Scival ที่ลิงก์ https://scival.com/landing แล้วเลือก Find a journal หรือเข้าที่ https://journalfinder.elsevier.com/
- ใส่ข้อมูลชื่อบทความ และ Abstract ของบทความ (แนะนำให้ใส่คร่าวๆก็ได้) พร้อมระบุ Keyword และสาขาวิชา
- จากนั้นทำการคลิกค้นหา เมื่อได้ผลลัพธ์แล้ว จะมีข้อมูลของวารสาร พร้อมข้อมูล Metric ต่างๆ เช่น ค่า Cite Score ค่า Impact Factor ระยะเวลาที่รอคอยการตัดสินใจจากคณะกรรมการพิจารณา เป็นต้น
- สามารถจำกัดผลลัพธ์ได้ตามต้องการ เช่น ต้องการเฉพาะวารสารที่มีค่า Impact Factor ไม่เกิน 2 หรือระบุข้อมูลอื่นๆประกอบได้
ตัวอย่างตัวเลือกสำหรับจำกัดผลการค้น จากค่า Citescore, Impact Factor, Time to 1st desicion, Time to publication รวมถึงข้อมูลของวารสารว่าเป็นวารสารประเภท OA (Open Access) หรือวารสารประเภทต้องบอกรับ (Subscription)
- ผลลัพธ์ที่แสดงจะเรียงตามลำดับความเหมาะสมหรือ Match กันมากที่สุด จากข้อมูลที่เรากรอกลงไป
- เราสามารถคลิกดูรายละเอียดของวารสารเพิ่มเติมได้จากสัญลักษณ์สามเหลี่ยมหัวลงท้ายสุด และถ้าพิจารณาแล้วสนใจต้องการตีพิมพ์ สามารถเลือกคลิกที่ Submit paper จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับวารสารต่อไป
- หากต้องการส่งผลงานในวารสารชื่อใด จะเข้าสู่กระบวนการถัดไป คือหมายเลข 2. Prepare your paper
- สำนักพิมพ์ Elsevier จะมีข้อมูลวิธีการเตรียมผลงานต้นฉบับ ก่อนส่งบทความตีพิมพ์ หรือขอคำแนะนำเรื่องการเตรียมต้นฉบับด้วยโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม Endnote จากห้องสมุด หรือศึกษาด้วยตนเองได้ที่ https://www.lib.nu.ac.th/m/nurss/tutorial/ หรือคลิก ลิงก์
ศึกษาวิธีการใช้งานเพิ่มเติมได้จากคลิปวิดีโอนี้ค่ะ