ความเข้าใจเรื่อง Open Access
Open Access คือวารสารเข้าถึงแบบเปิดมีเนื้อหาให้ฟรีบนเว็บไซต์ และเก็บค่าใช้จ่ายกับนักวิจัยที่จะนำผลงานมาเผยแพร่
ส่วนวารสารแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่เก็บค่าใช้จ่ายที่สูงกับผู้อ่านเพื่อเข้าถึงเนื้อหาของวารสาร
การเลือกวารสารแบบ Open Access (OA) สำหรับตีพิมพ์ มีข้อพิจารณา ดังนี้
- วารสารแบบ OA มีโอกาสได้รับการมองเห็นบทความมากกว่าวารสารแบบปิด ที่มีระบบสมาชิก
- ค่าใช้จ่าย ที่วารสารแบบ OA เปิดโอกาสให้ตีพิมพ์ฟรีได้บางรายชื่อ และบางรายชื่อมีค่าตีพิมพ์ (APC Charge) ซึ่งต้องดูรายละเอียดจากเว็บไซต์ของวารสาร
- ชื่อเสียงในสาขานั้นๆ รวมถึงค่ามาตรฐานของวารสาร เช่น ค่า Impact Factor ค่า Quartile หรือ Cite Score
- ความเร็วในการพิจารณาตีพิมพ์
บริการสนับสนุนวิจัย ขอแนะนำเครื่องมือช่วยเลือกแหล่งตีพิมพ์บทความในวารสาร Open Access ที่สามารถค้นได้ด้วยตนเอง จาก Application Google Data studio และสามารถนำข้อมูลดาวน์โหลดออกมาเป็นรายงานหรือ File Excel ได้
ลิงก์เข้าถึงโดยตรง คลิก
** แนะนำบริการช่วยสืบค้นด้วยตนเองที่รวมแหล่งตีพิมพ์ทั้ง 2 แหล่งคือ SCOPUS และ Web of Science ไว้บนระบบสืบค้นบน Google Data Studio ในรูปแบบรายงาน —- สามารถเข้าใช้งานได้ที่ เว็บไซต์
ตัวอย่างหน้าจอ
ศึกษาวิธีการใช้งานจากคลิปวิดีโอด้านล่าง
หากต้องการดูรายงานสารสนเทศวิเคราะห์อื่นๆ เข้าได้ที่หน้าเพจ Information Analytics
หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ email reference@nu.ac.th หรือบริการช่วยการค้นคว้าและสนับสนุนวิจัย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร โทร 0-5596-2562