หมวด 4 การจัดการของเสียและมลพิษ (2561)

1. มีแผนงานและดำเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัดและมีวิธีการส่งกำจัดที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภท

ผลการดำเนินการ
1. วิธีปฏิบัติงานการแยกขยะ และการจัดการของเสีย สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร ปี 2559-2562
2. รณรงค์การลดปริมาณขยะ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่
3. มีแผนงานและดำเนินการจัดการขยะ ในแผนปฏิบัติงานห้องสมุดสีเขียว
4. การจัดการของเสียและมลพิษ
5. รณรงค์การแยกขยะและกำจัดอย่างเหมาะสม
2. มีแผนงานและดำเนินการจัดการน้ำเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินการ
1) สำนักหอสมุดมอบหมายให้หน่วยอาคารสถานที่กำหนดแผนและดำเนินการตรวจสอบระบบการทํางานของบ่อบําบัดน้ำเสียและระบายน้ำ
2. สำนักหอสมุดมีแผนงานและการดำเนินการจัดการน้ำเสีย ในแผนปฎิบัติงานห้องสมุดสีเขียว
  3. มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศเช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกำจัดฝุ่นบนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนดและตรวจตราให้ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจน มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียงในห้องสมุด

ผลการดำเนินการ
1) มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ ในแผนปฏิบัติงานห้องสมุดสีเขียว
2) กำจัด เชื้อรา คราบสกปรก เก้าอี้ผู้ใช้บริการ
3) การกำจัดเชื้อรา บนทรัพยากรฯ การกำจัดจุลินทรีย์ในอากาศ
 
4. มีการดำเนินการกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและพื้นที่สำนักงานให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

ผลการดำเนินการ
1) กิจกรรม 5ส. ของสำนักหอสมุด
2) มีแผนการดำเนินกิจกรรม 5ส. ในพื้นที่บริการและสำนักงาน
3) คู่มือการดำเนินงาน 5ส ประจำปี 2561
4) ประชุมคณะกรรมการ 5ส และรายงานการประชุม
5) รายงานการตรวจพื้นที่ 5ส
 
5. แผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และ วาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมหรือตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ผลการดำเนินการ
1) โครงการฝึกซ้อมอัคคีภัย เพื่อพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน
2) แผนป้องกันและระงับอัคคีภัยสำนักหอสมุด