กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยนเรศวรรับมอบขยะอันตราย (Hazardous Waste) เพื่อส่งกำจัดอย่างถูกวิธี ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2566 เวลา 15.00 น. กองอาคารสถานที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร เก็บรวบรวมขยะอันตรายหรือขยะที่มีพิษ (Hazardous Waste) จากสำนักหอสมุด ประจำปี 2566 นี้ โดย คุณมานะชัย เปียมี นักวิชาการพัสดุ และคุณจุล โฉมแดง พนักงานรักษาความปลอดภัย ผู้ส่งมอบแก่ งานความปลอดภัยและการจัดการของเสีย กองอาคารสถานที่ ทั้งนี้ขยะเหล่านี้เป็นวัสดุที่เกิดจากการใช้ปฏิบัติงานต่าง ๆ ภายในอาคารสำนักหอสมุดและห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการจัดส่งขยะอันตรายเพื่อให้มีการกำจัดอย่างถูกวิธี ด้วยขั้นตอน กระบวนการ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะอันตรายต่อไป

ภาพการรับ-ส่ง ขยะอันตราย

ภาพขยะอันตรายที่เกิดจากการใช้งานส่วนอาคารสำนักหอสมุด ห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ห้องสมุดสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขยะอันตรายหรือขยะที่มีพิษ (Hazardous Waste) คือ ของเสีย วัสดุที่ไม่ใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ หรือภาชนะบรรจุใช้แล้วที่มีองค์ประกอบ หรือปนเปื้อนวัตถุมีพิษ และสารเคมีอันตรายชนิดต่าง ๆ ที่พิษต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งมีชีวิต สารไวไฟ สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่าง ๆ องค์ประกอลเหฃ่านี้เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม

ตัวอย่างขยะอันตรายในชีวิตประจำวัน

  • ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุ กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี
    • น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำและสุขภัณฑ์ เป็นสารกัดกร่อนและมีความเป็นพิษ
    • นํ้ายาขัดกระจก มีฤทธิ์เป็นสารกัดกร่อน และสารพิษ
    • สารกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมงสาบและยาฆ่ามด ซึ่งล้วนเป็นสารพิษต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
    • นํ้ายาขัดเครื่องเงินหรือเครื่องทองแดง เป็นสารพิษที่บำบัดได้ยาก
    • ยาขัดรองเท้า เป็นสารไวไฟและพิษต่อสิ่งแวดล้อม
    • แบตเตอรี่ เนื่องจากแบตเตอร์รี่ทำขึ้นมาจากสารสังกะสีและคาร์บอน หรือโลหะอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรเก็บอย่างระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงไม่ให้อยู่ใกล้กับความร้อน
    • ถ่านไฟฉายเก่า และหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ เป็นของใช้ที่มีส่วนประกอบของสารโลหะหนักทั้ง ตะกั่ว และปรอทที่บรรจุอยู่ภายใน หากแพร่กระจายไปสู่ดิน น้ำ อากาศ ก็จะทำให้เกิดมลพิษต่อผู้คนที่อยู่ใกล้เคียง รวมถึงคนเก็บขยะด้วย

การจัดการขยะอันตรายมีความสำคัญอย่างไร

               ขยะอันตราย คือ ขยะของเสียที่สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมได้ในลักษณะเป็นวงกว้าง และเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดการแพร่กระจายแล้วจะยากต่อการจัดการ ดังนั้น ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการจัดการของเสียอันตรายจึงมีความสำคัญและจำเป็นมาก โดยเฉพาะการคิดถึงความจำเป็นก่อนใช้งาน การคัดแยกของเสียอันตรายออกจากขยะอื่น ๆ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ เพื่อลดปริมาณขยะ และลดการปนเปื้อนของสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

ตัวอย่าง ขยะอันตรายในชีวิตประจำวัน

  • ถ่านไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุ กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี
  • น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำและสุขภัณฑ์ เป็นสารกัดกร่อนและมีความเป็นพิษ
  • นํ้ายาขัดกระจก มีฤทธิ์เป็นสารกัดกร่อน และสารพิษ
  • สารกำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าแมงสาบและยาฆ่ามด ซึ่งล้วนเป็นสารพิษต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
  • นํ้ายาขัดเครื่องเงินหรือเครื่องทองแดง เป็นสารพิษที่บำบัดได้ยาก
  • ยาขัดรองเท้า เป็นสารไวไฟและพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • แบตเตอรี่ เนื่องจากแบตเตอร์รี่ทำขึ้นมาจากสารสังกะสีและคาร์บอน หรือโลหะอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรเก็บอย่างระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงไม่ให้อยู่ใกล้กับความร้อน
  • ถ่านไฟฉายเก่า และหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ เป็นของใช้ที่มีส่วนประกอบของสารโลหะหนักทั้ง ตะกั่ว และปรอทที่บรรจุอยู่ภายใน หากแพร่กระจายไปสู่ดิน น้ำ อากาศ ก็จะทำให้เกิดมลพิษต่อผู้คนที่อยู่ใกล้เคียง รวมถึงคนเก็บขยะด้วย